ท่านั่งขับรถของแต่ละคนล้วนแตกต่างกันไปตามความถนัด บางคนถนัดขับแบบใกล้ชิดกับพวงมาลัย ส่วนบางคนตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง กลับชอบขับแบบห่าง ๆ ปรับเบาะเอนแทบจะนอน มือเอื้อมแตะพวงมาลัยแค่พอประคับประคอง แต่ไม่สามารถจับพวงมาลัยได้เต็มมือ ไม่รู้ว่าที่ตัดสินใจนั่งขับรถท่านี้ เพราะความเท่หรือเพราะถนัดแบบนี้จริง ๆ กันแน่ ซึ่งรู้หรือไม่ว่าท่านั่งขับรถนั้น ที่จริงแล้วมีท่านั่งที่ถูกต้องและเหมาะสมที่ผู้ขับขี่ควรปรับและทำตาม เพราะนอกจากจะลดความเมื่อยล้าแล้ว ยังช่วยเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพในการขับขี่ ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ปลอดภัยไว้ก่อนแม้รถของคุณจะซื้อประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 คุ้มครองไว้แล้วก็ตาม

ระยะความห่างของเบาะกับพวงมาลัยรวมถึงท่านั่งขับที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณขับรถได้สบาย ผ่อนคลาย และปลอดภัยมากขึ้น โดยเริ่มจาก
- ปรับระยะห่างของเบาะกับพวงมาลัยให้ขางอได้เล็กน้อย ฝ่าเท้าสามารถเหยียบแป้นคลัตช์ เบรก และคันเร่งได้สุดอย่างเต็มฝ่าเท้า
- ปรับพนักพิงให้อยู่ในระดับที่ช่วงหลังเอนทาบได้สนิทตั้งแต่ระดับบ่า ไหล่ จนถึงสะโพก
- เมื่อนั่งแล้วเข่าต้องอยู่สูงกว่าสะโพกเล็กน้อย
- มือกำพวงมาลัยให้แน่น โดยที่ข้อศอกต้องสามารถงอได้เล็กน้อยไม่เหยียดตึง เพื่อให้การหมุนพวงมาลัยขณะขับขี่เป็นไปอย่างสะดวก ถนัด และเกิดความผิดพลาดได้น้อยที่สุด
- ระดับความสูงของเบาะ ผู้ขับขี่ควรนั่งแล้วมองเห็นฝากระโปรงหน้าเต็มแผ่น หากไม่เห็นให้ปรับเบาะในระดับที่สูงขึ้น หรือหาเบาะรองนั่งมาวางซ้อนเบาะรถเพื่อปรับระดับการมองเห็น
- แม้คุณจะถนัดนั่งขับแบบติดพวงมาลัย ก็ไม่ควรขับรถท่านั้น เพราะหากเกิดอุบัติเหตุจนระบบถุงลมนิรภัยทำงาน ถุงลมอาจกระแทกหน้าอกซึ่งอันตรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย
- เมื่อได้ระดับของเบาะและท่านั่งขับที่เหมาะสมแล้ว อย่าลืมปรับกระจกมองข้างทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ให้สามารถมองเห็นรถข้างหลังได้ชัดเจน
- พนักพิงศีรษะควรปรับให้อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางศีรษะพอดี แต่พนักพิงศีรษะนั้นไม่ได้มีไว้ใช้พิงขณะขับขี่ แต่มีไว้สำหรับรองรับศีรษะและคอเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่มีการกระแทกเฉี่ยวชน
- สายเข็มขัดนิรภัยควรปรับให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม พาดแนวเฉียงจากไหปลาร้าข้างใดข้างหนึ่งมายังจุดล็อคเข็มขัดนิรภัยอีกข้างหนึ่ง ระวังอย่าให้สายพาดบริเวณคอ หรือต่ำกว่าหัวไหล เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายมากกว่าที่ควรจะเป็นก็เป็นได้
- ปรับพวงมาลัยรถให้ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป ควรอยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับท่านั่งและการยืดมือไปจับ เพราะหากสูงเกินไปจะทำให้ต้องเอื้อมไปจับจนแขนตึง และเกิดอาการเมื่อยล้าได้หากขับนาน ๆ หรือถ้าต่ำจนเกินไป จนพวงมาลัยแตะโดนต้นขา ขับไม่ถนัด ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เป็นเหตุให้ต้องใช้ความคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ที่ซื้อไว้อยู่บนครั้ง

ได้รู้กันไปแล้วว่าท่านั่งขับรถที่ถูกต้องควรนั่งอย่างไร รวมถึงระดับที่เหมาะสมของเบาะนั่ง พนักพิง พนักพิงศีรษะ พวงมาลัย และกระจกมองข้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการขับขี่ ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากการที่คุณขับขี่ด้วยท่านั่งที่ไม่ถนัด แถมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่เอื้ออำนวยได้อีกด้วย แต่ด้วยเพราะอุบัติเหตุนั้นเป็นเหตุการณ์ที่พร้อมจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การมีประกันภัย รถยนต์ชั้น 1 ไว้คุ้มครองไม่ว่าผลลัพธ์ที่ตามมาจะรุนแรงขนาดไหน ประกันภัยรถก็จะคุ้มครองดูแลคุณโดยที่คุณไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันนี้ แถมประกันยังดูแลรับผิดชอบค่าเสียหายรวมถึงค่ารักษาพยาบาลให้ทั้งคุณและคู่กรณีอีกด้วย