ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้กำหนดขึ้นในปี พ.ศ. 2491 หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกรอบในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยประเทศไทยออกเสียงสนับสนุน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีทั้งหมด 30 ข้อ โดยข้อที่มีความสำคัญและแสดงให้เห็นถึงการคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ที่ครอบคลุมตั้งแต่ การเกิด การใช้ชีวิต การสมรส การได้รับความคุ้มครองจากกระบวนการยุติธรรม อาทิ ระบุว่า มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาอิสระเสรี และเท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิประสาทเหตุผล และมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง ไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเรื่องใด ๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมืองหรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย …